สมัยเด็กๆจำได้ว่าเวลากินข้าวไม่ว่าจะที่บ้านหรือนอกบ้าน (ร้านข้าวแกง) ก็จะต้องได้พบเจอ “มอด” ปะปนอยู่ในข้าวบ้าง ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะเรามองเห็นและเอาช้อนส้อมเขี่ยทิ้งได้

แต่แปลกที่สมัยนี้ ไม่เคยพบเจอมอดในข้าวสวยตามร้านข้าวแกงอีกเลย  …… ที่แปลกกว่านั้นคือเวลาหุงข้าวกินเอง ก็ไม่เคยพบเจอมอดในถุงข้าวสารเลย แม้ว่าจะเปิดถุงข้าวทิ้งไว้นานหลายเดือน

ว่าแล้วก็ลองถามอากู๋ (google) ดู จึงพบข้อมูลว่าที่แท้สมัยนี้เขา “รมยาฆ่ามอด” ก่อนจะบรรจุข้าวใส่ถุงมาขายให้เรา เอ๊ะ!! แล้วเขาเอายาเคมีอะไรมารมยาฆ่ามอดละ ค้นหาข้อมูลต่อไปก็พบว่ามีสารเคมีหลักๆ 2 ชนิด คือ

  1. เมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) เป็นสารที่ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น ปัจจุบันถูกห้ามใช้แล้วเนื่องจากเป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ
  2. ฟอสฟีน (Phosphine)  เป็นสารที่ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น เช่นเดียวกัน ปัจจุบันเป็นสารเคมีตัวหลักที่ผู้ประกอบการใช้กัน

แน่นอนว่าสารฟอสฟีนต้องผ่านการรับรองจากกรมวิชาการการเกษตรแล้วว่าปลอดภัย หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามมาตรฐานของ คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO หรือ Codex  (Codex Alimentarius Commission – CAC) โดยกำหนดไว้ที่ 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  สำหรับธัญพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการ และที่ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับธัญพืชที่ผ่านกระบวนการแล้ว

เอาละ ถ้ามันปลอดภัยจริงก็ไม่น่ากังวล แต่ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีการตรวจพบว่ามีข้าวถุงหลายๆยี่ห้อมีสารเคมีตกค้างในปริมาณเกินกว่าที่กำหนดมากกกก ………………………..
ข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจ ระบุ ข้าวถุงที่ขายในท้องตลาด 46 ตัวอย่างพบว่า มี 12 ยี่ห้อไม่พบสารตกค้าง แต่อีก 34 ยี่ห้อ หรือคิดเป็นร้อยละ 73.9 พบสารตกค้างจากการรมยาในระดับ 0.9-67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

.

แล้วยังไงครับ? แล้วยังไง?

ยี่ห้อไหนตรวจพบสารเคมีปนเปื้อน ก็เก็บขึ้นไม่ให้ขาย แค่นี้เองครับ แล้วอีกเป็นร้อย เป็นพันยี่ห้อ ที่ไม่ได้ตรวจละ?

แล้วหากผู้ประกอบการ (ที่ขาดความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค) กลัวขาดทุน นำข้าวสารปนเปื้อนไปบรรจุใส่ถุงยี่ห้อใหม่เอาออกมาขายซ้ำละ?

แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะไม่เจอแจ็คพ็อต?

ถึงตอนนี้ เรามีทางเลือกนะครับ คือจะเลือกเสี่ยงกินข้าวถุงรมยาฆ่ามอดที่มีขายตามห้าง ตามร้าน แบบเดิมๆ หรือเราจะเลือกไม่เสี่ยงที่จะกินข้าวรมยา แล้วไปหาข้าวออแกนิคที่ไม่มีเคมี ไม่มีการรมยาฆ่ามอด

.

สุขภาพของเรา เราเลือกที่จะมีสุขภาพที่ดีได้นะครับ  .. เราเลือกได้

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

รมยากับการค้าข้าว โดยกรมวิชาการเกษตร 

ข้าว-มอด และการรมยา

กินข้าวแบบไม่เสี่ยงตาย หากรมควันกันแมลงถูกวิธี